ทำเกษตรผสมผสานตาม​แนว​พระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อบรรลุเศรษฐกิจพอเพียง

ก่อนจะมาเป็นสวนนี้แต่เดิมถูกทิ้งไว้หลายปีเพราะเจ้าของที่ดินเดิมย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น เราได้ซื้อที่ดินนี้มาเป็นที่ดอน ป่ารก และต้นซาด เดินเข้าไปมีแต่พงหนามเล็บแมวและเถาวัลย์...ตาบุญเลี่ยมกับยายมะลิ...คนแก่อายุ 60ปี ช่วยกันถางด้วย มีดโต้ จอบ เสียม ไม่จ้างรถแทรกเตอร์เลย ด้วยเหตุผลว่าเสียดายไม้ ถางป่าด้วยความหวัง ถางป่าด้วยความสุข ถางป่าไปร้องเพลงไป พอมีที่ว่างก็ค่อยๆปลูกพืชผักที่กินได้ เข่นแตงโม ข้าวโพด ส่วนต้นไม้ใหญ่รักษาไว้ให้คงสภาพป่าเหมือนเดิม ถางป่าเป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงน้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปฏิบัติจนกลายเป็นสวนเกษตรผสมผสาน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันได้รับการคัดเลือกเป็น"ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ เฉลิมพระเกียรติ"หมู่8 ต.งัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

Saturday, September 26, 2009

เกษตรพอเพียง

เกษตรพอเพียงสิ่งที่เราพยายามยึดถือมาตลอดคือ ความพอดี เราหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มากเกินไป เลี้ยงหมูเราก็เลี้ยงในจำนวนที่ไม่เกินกำลัง พยายามจัดการให้สวนชองเราใช้ทรัพยากรอย่างเกื้อกูลกันตามแนวเกษตรพอเพียง เช่นมูลสุกร หากเราจัดการไม่ดีจะเป็นปัญหาใหญ่เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เราจัดการทิ้งให้ตากแดดให้แห้ง ช่วงเวลาเย็นจะมีไก่มาคุ้ยเขี่ยช่วยกำจัดหนอน เป็นการคุมปริมาณแมลงวันในตัวเองไก่ก็ได้อาหารดีจากธรรมชาติ การที่ไก่มาคุ้ยเขี่ยเป็นการเร่งให้มูลสุกรแห้งเร็วขึ้น ที่สวนจึงไม่ค่อยมีกลิ่น มูลสุกรนี้ใช้เป็นปุ๋ยพืชได้อย่างยอดเยี่ยมซึ่งตามหลักเกษตรพอเพียงแล้วหากเหลือใช้จากสวนเราแล้วสามารถขายได้ แต่มักมีไม่พอขายเนื่องจากมีความต้องการจากลูกค้าสูงมาก
เราพยายาม ทำให้ครบวงจรเช่น ปลูกข้าวโพด กล้วย หญ้า เพื่อเป็นอาหารสัตว์ เมื่อเกิดมูลสัตว์ก็นำกลับมาทำปุ๋ยคอกเกษตรพอเพียงจึงหมายความถึงความพอเพียงพอดีเกื้อกูลกันตามธรรมชาติ

No comments:

Post a Comment