ทำเกษตรผสมผสานตาม​แนว​พระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อบรรลุเศรษฐกิจพอเพียง

ก่อนจะมาเป็นสวนนี้แต่เดิมถูกทิ้งไว้หลายปีเพราะเจ้าของที่ดินเดิมย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น เราได้ซื้อที่ดินนี้มาเป็นที่ดอน ป่ารก และต้นซาด เดินเข้าไปมีแต่พงหนามเล็บแมวและเถาวัลย์...ตาบุญเลี่ยมกับยายมะลิ...คนแก่อายุ 60ปี ช่วยกันถางด้วย มีดโต้ จอบ เสียม ไม่จ้างรถแทรกเตอร์เลย ด้วยเหตุผลว่าเสียดายไม้ ถางป่าด้วยความหวัง ถางป่าด้วยความสุข ถางป่าไปร้องเพลงไป พอมีที่ว่างก็ค่อยๆปลูกพืชผักที่กินได้ เข่นแตงโม ข้าวโพด ส่วนต้นไม้ใหญ่รักษาไว้ให้คงสภาพป่าเหมือนเดิม ถางป่าเป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงน้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปฏิบัติจนกลายเป็นสวนเกษตรผสมผสาน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันได้รับการคัดเลือกเป็น"ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ เฉลิมพระเกียรติ"หมู่8 ต.งัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

Sunday, September 18, 2011

การป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมและฝนแล้ง

ขุดสระให้ใหญ่เอาดินที่ได้จากการขุดสระมาถมโคกให้สูง ต่อไปเวลาฝนแล้งจะได้ใช้น้ำในสระ มีปลาไว้บริโภค เมื่อเวลาน้ำท่วมเราสามารถขนของมาเก็บไว้บนโคกได้ แม้กระทั่งรถยนต์ก็จอดบนโคกได้ เตรียมตัวให้พร้อม ต่อไปนี้จะมีปัญหาเดิมแบบนี้เกิดขึ้นทุกปี ถ้าไม่เตรียมตัวดีๆ จะเข้าตำราว่า หน้าฝนต้องขนคนหนีน้ำ พอหน้าแล้งต้องขนน้ำไปแจกคน

Sunday, September 4, 2011

กระเพรา

กะเพรามี 2 ชนิดคือกระเพราขาวและกระเพราแดง มีกลิ่นฉุนใช้ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว ใส่ในแกงป่า แกงเผ็ด ผัดกระเพรา มีสารเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก มีสรรพคุณคลายท้องเฟ้อ จุกเสียด อึดอัด ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีการวิจัยกันว่ากินกระเพราทุกวันช่วยต้านมะเร็ง

Thursday, September 1, 2011

น้อยหน่าผลไม้ที่ปลูกง่ายทนแล้ง

น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่ปลูกง่ายและทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี น้อยหน่าที่เราได้กินบางทีได้จากการโยนเมล็ดทิ้งไว้ที่ปลายนา ไม่เคยรดน้ำเลยเผลอๆ 2-3 ปีเดินไปดูนาอ้าว น้อยหน่าสุกพร้อมกินได้ซะแล้ว เราก็เลยตั้งแถวหยอดเมล็ดไว้ทั่วสวนให้เป็นระเบียบ จะได้กินง่ายๆ เหตุที่เราใช้เมล็ดปลูกเพราะเราพยายามรักษาธรรมชาติของต้นไม้ ปลูกด้วยเมล็ดประหยัดสุด หากเราเสียเงินซื้อกิ่งพันธุ์มันแพงมาก กิ่งละ 300-400 บาทต่อ 1 ต้น หากเราต้องการความยั่งยืนปลูกด้วยเมล็ดจะดีที่สุด

กุยช่ายดอง(ผักแป้นดอง)

สวนเราปลูกผักกุยช่ายไว้มาก สามารถขายได้เดือนละสองสามพันเชียวนะ ผักกุยช่ายนี้ภาคอีสานเรียกว่าผักแป้น วิธีรับประทานผักแป้นมีหลายวิธี เช่น ต้ม ทอด ผัด ทำขนมทอดกรอบ กินกับผัดไทย สำหรับวันนี้ผมขอเสนอวิธีทำผักแป้นดอง เริ่มต้น เก็บผักแป้นมาล้างให้สะอาด ขยำในน้ำด้วยมือจนนิ่มแล้วนำมาแช่ในน้ำซาวข้าวใส่เกลือเล็กน้อยผึ่งแดดไว้ 1 วันจะออกรสเปรี้ยวเล็กน้อย หากเก็บไว้นาน 2-3 วันจะเปรี้ยวมากขึ้น แล้วแต่ความชอบใส่โหลเก็บไว้ได้นานหลายวัน นิยมรับประทานกับน้ำพริก หรือปลาร้าที่เรียกว่าป่นอร่อยสุดๆ

วิธีทดสอบเห็ดมีพิษภูมิปัญญาชาวบ้าน

การทดสอบเห็ดมีพิษภูมิปัญญาชาวบ้นทำได้ง่ายๆไม่ต้องใช้ห้องแล็บจ้ะ ทำได้โดยเมื่อต้มแกงเห็ด ให้นำข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าที่นึ่งแล้ว ใส่ลงในหม้อแล้วปรุงอาหารตามปกติ ถ้าเมล็ดข้าวเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ต้องทิ้งแกงทั้งหม้อทันที ห้ามกินเด็ดขาด เพราะมีพิษ

หน่อไม้ดอง การถนอมอาหารภูมิปัญญาชาวบ้าน

หน้าฝนมีหน่อไม้มากกินไม่ทัน เราก็เลยทำหน่อไม้ดองเก็บไว้กินได้นานๆ การทำหน่อไม้ดองก็หั่นหน่อไม้แล้วแช่ในน้ำเกลือ ผึ่งแดดไว้แล้วใส่ไหปิดปาก ใครอยากรู้เคล็ดลับต้องมาถามคุณยายเองนะจ๊ะ