ทำเกษตรผสมผสานตาม​แนว​พระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อบรรลุเศรษฐกิจพอเพียง

ก่อนจะมาเป็นสวนนี้แต่เดิมถูกทิ้งไว้หลายปีเพราะเจ้าของที่ดินเดิมย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น เราได้ซื้อที่ดินนี้มาเป็นที่ดอน ป่ารก และต้นซาด เดินเข้าไปมีแต่พงหนามเล็บแมวและเถาวัลย์...ตาบุญเลี่ยมกับยายมะลิ...คนแก่อายุ 60ปี ช่วยกันถางด้วย มีดโต้ จอบ เสียม ไม่จ้างรถแทรกเตอร์เลย ด้วยเหตุผลว่าเสียดายไม้ ถางป่าด้วยความหวัง ถางป่าด้วยความสุข ถางป่าไปร้องเพลงไป พอมีที่ว่างก็ค่อยๆปลูกพืชผักที่กินได้ เข่นแตงโม ข้าวโพด ส่วนต้นไม้ใหญ่รักษาไว้ให้คงสภาพป่าเหมือนเดิม ถางป่าเป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงน้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปฏิบัติจนกลายเป็นสวนเกษตรผสมผสาน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันได้รับการคัดเลือกเป็น"ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ เฉลิมพระเกียรติ"หมู่8 ต.งัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

Thursday, December 13, 2012

ขุดสระเตรียมรับภัยแล้ง เตรียมบ่อบาดาลและปั๊มให้พร้อม

สระน้ำลึก3เมตรมีชานขอบสระป้องกันการพลังทลายของดิน
น้ำบาดาลต้องเตรียมไว้กรณีฝนทิ้งช่วงนานๆและใช้รดต้นไม้ด้วย
เราทราบว่าวันหนึ่งความแห้งแล้งจะมาเยือนเรา เราจึงเตรียมขุดสระน้ำไว้ต้อนรับ การขุดสระน้ำควรลึก 3 เมตรหรือมากกว่าหากอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง ควรมีความลาดเอียง เพราะเมื่อปล่อยปลาลงไปจะเป็นที่ให้ปลาวางไข่ขยายพันธ์ได้ ซึ่งจุดนี้คือความมั่นคงยั่งยืนในด้านอาหาร ส่วนบ่อบาดาลเป็นตัวเสริม ใช้รดต้นไม้ ใช้เติมน้ำในสระและเป็นน้ำใช้เลี้ยงสัตว์

บ่อน้ำเลี้ยงปลาโดยธรรมชาติ

บ่อนี้ใช้เลี้ยงปลาและสำรองน้ำไว้ใช้ตกกล้ากรณีมีน้ำฝนน้อย

สระปลาและน้ำใช้

ขุดลึก3เมตรปล่อยปลาครั้งเดียวมีปลากินตลอดเพราะมันขยายพันธ์เอง น้ำใช้รดผักสวนครัวรอบสระ

บ่อน้ำในแปลงนา

หน้าทำนาปล่อยปลาที่นี่เมื่อน้ำท่วมปลาจะออกไปหากินทั่วนา เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวน้ำน้อยปลาที่โแล้วจะกลับมารวมกันอีกครั้งที่นี่